เทคโนโลยีที่ส่งเสริมการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมไปกับสิ่งต่างๆ รอบๆ ตัว

31 ม.ค., 2020อุปกรณ์ฉายภาพ, โปรเจคเตอร์

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เทคโนโลยีได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษาของเด็กในประเทศต่างๆ เช่น ประเทศสิงคโปร์ นักเรียนในยุคปัจจุบันเติบโตมากับสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต โน๊ตบุ๊ค และอุปกรณ์อื่นๆ ทำให้เด็กนักเรียนในยุคนี้มีความคุ้นเคยและสามารถนำเทคโนโลยีแบบอินเตอร์แอคทีฟมาปรับใช้กับสิ่งแวดล้อมต่างๆ เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ในห้องเรียนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

Teacher guiding students on ipad

เทคโนโลยีโปรเจคเตอร์ จอแสดงผลด้วยหน้าจอแบบสัมผัส ปากกาอัจริยะ รวมถึงเทคโนโลยีอื่นๆ มีส่วนช่วยพัฒนาการเรียนรู้ในห้องเรียนที่ทุกคนสามารถสื่อสารโต้ตอบหรือมีส่วนร่วมได้อย่างลงตัว สร้างสรรค์ให้ทุกบทเรียนมีชีวิตชีวาและมีความสนุกสนานยิ่งขึ้น นอกจากนี้ BECTA องค์กรที่ให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีการศึกษาให้กับโรงเรียนต่างๆ จากประเทศอังกฤษ ได้ให้ความเห็นว่าจอแสดงผลแบบอินเตอร์แอคทีฟ ช่วยสร้างความเพลิดเพลินและแรงจูงใจในการเรียนการสอนได้ดียิ่งขึ้น

นอกจากนี้ คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต จอแสดงผล และโปรเจคเตอร์ ยังมีเทคโนโลยีที่หลากหลาย เพื่อให้ผู้สอนได้เลือกใช้ เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในการเรียนการสอนมากที่สุด จากการค้นคว้าและพัฒนาของเอปสัน ในฐานะผู้นำเทคโนโลยีสำหรับการเรียนการสอนชั้นแนวหน้าของโลก ได้ทำการจำลองสภาพแวดล้อมการเรียนรู้รูปแบบต่างๆ เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีอินเตอร์แอคทีฟให้สามารถตอบรับกับการเรียนการสอนในรูปแบบต่างๆ ได้อย่างลึกซึ้ง

 

การพลิกโฉมรูปแบบการสอน

โปรเจคเตอร์ในรูปแบบต่างๆ เช่น อินเตอร์แอคทีฟโปรเจคเตอร์ Ultra Short Throw จากเอปสัน ช่วยให้ผู้สอนสามารถดึงความสนใจของนักเรียนได้ดีขึ้น นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาโปรแกรม Java Applet เพื่อใช้ในด้านการศึกษา ซึ่งช่วยให้การเรียนการสอนมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น

 

อินเตอร์แอคทีฟโปรเจคเตอร์ได้รับความนิยมมากขึ้น และเริ่มเข้ามามีบทบาทในสื่อการเรียนการสอน จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้เรียนได้สัมผัสกับประสบการณ์การเรียนการสอนที่น่าสนใจยิ่งขึ้น


อินเตอร์แอคทีฟโปรเจคเตอร์ หรือ จอทีวีแบบทัชสกรีน

เทคโนโลยีอินเตอร์แอคทีฟโปรเจคเตอร์และจอแสดงผลอินเตอร์แอคทีฟ ทำให้ผู้ใช้งานสามารถสัมผัสและโต้ตอบกับจอแสดงผลได้ทันทีเช่นเดียวกับสมาร์ทโฟน เทคโนโลยีอินเตอร์แอคทีฟโปรเจคเตอร์มักถูกนำไปเปรียบเทียบกับการใช้จอทีวีแบบทัชสกรีนทั่วไปซึ่งให้ความสว่างที่สูงกว่า แต่ในทางกลับกันอินเตอร์แอคทีฟโปรเจคเตอร์สามารถให้ขนาดจอภาพที่ใหญ่กว่า ทำให้สามารถใช้งานกับห้องเรียนที่มีขนาดใหญ่กว่าได้ดีกว่า ได้แก่:

  • ราคา: ราคาอินเตอร์แอคทีฟโปรเจคเตอร์มีราคาที่ถูกกว่ากว่าจอทีวีแบบทัชสกรีน จึงช่วยให้สามารถประหยัดงบประมาณด้านการศึกษาของสถานศึกษาต่างๆ
  • แสงสะท้อน:จอแสดงผลแบบจอทีวีจะมีแสงสะท้อนที่เกิดจากแสงต่างๆ ในห้องเรียนหรือแสงธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลากลางวัน ทำให้รบกวนสายตาของผู้รับชม ซึ่งอินเตอร์แอคทีฟโปรเจคเตอร์จะไม่มีแสงสะท้อนจากการฉายภาพ
  • มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน:อินเตอร์แอคทีฟโปรเจคเตอร์สามารถฉายภาพได้ในทุกที่ ที่พื้นผิวที่มีลักษณะเรียบแข็ง โดยสามารถเปลี่ยนกระดานดำ ผนังหรือโต๊ะ ให้กลายเป็นพื้นที่ฉายภาพในรูปแบบอินเตอร์แอคทีฟได้สะดวกอย่างง่ายดาย ในทางตรงกันข้ามจอทีวีแบบทัชสกรีนจะมีข้อจำกัดด้านพื้นที่มากกว่า
  • คุณภาพที่เหนือกว่า:อินเตอร์แอคทีฟโปรเจคเตอร์มีจุดเด่นในด้านคุณภาพของภาพที่ฉาย สามารถเพิ่มขนาดของภาพที่ฉายได้สูงถึง 100 นิ้ว ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าจอทีวีทัชสกรีน ซึ่งรอบรับได้สูงสุดขนาด 50 นิ้ว นอกจากนี้ อินเตอร์แอคทีฟโปรเจคเตอร์ยังรองรับการฉายภาพด้วยความละเอียดสูงระดับ Full HD เพื่อให้รายละเอียดของภาพที่คมชัดสดใสเหมือนเดิม
  • ขนาดจอที่ใหญ่กว่า:อินเตอร์แอคทีฟโปรเจคเตอร์สามารถฉายภาพที่มีขนาดใหญ่ ทำให้นักเรียนทุกคนในห้องเรียนสามารถมองเห็นเนื้อหาได้อย่างชัดเจนซึ่งเป็นส่วนสำคัญยิ่งในการเรียนการสอน

“นักเรียนมากกว่าครึ่ง ไม่สามารถอ่านเนื้อหาบนจอทีวีขนาด 70 นิ้ว ได้ชัดเจนเท่าที่ควร”

ทำไมขนาดหน้าจอจึงมีความสำคัญ?

งานวิจัยล่าสุด โดยสถาบัน Radius Research* ในประเทศสหรัฐอเมริกา และสิงคโปร์ พบว่านักเรียนมากกว่าครึ่ง ไม่สามารถอ่านเนื้อหาบนจอแสดงผลแบบจอแบนขนาด 70 นิ้ว ได้อย่างชัดเจนเท่าที่ควร ทำให้ไม่สามารถเรียนรู้เนื้อหานั้นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงสามารถสรุปได้ว่าขนาดหน้าจอมีความสำคัญอย่างมากในการรับชมของนักเรียน

เอปสันอินเตอร์แอคทีฟโปรเจคเตอร์ สามารถขยายขนาดจอภาพได้สูงสุดถึง 100 นิ้ว ซึ่งจะช่วยสร้างบรรยากาศการเรียนการสอนให้ดูน่าสนใจ ผู้สอนและผู้เรียนสามารถสร้างเนื้อหาร่วมกันได้ ทำให้การเรียนรู้มีความน่าสนใจและได้ผลมากยิ่งขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น เอปสันอินเตอร์แอคทีฟโปรเจคเตอร์มีฟีเจอร์ที่มีความหลากหลายช่วยให้ผู้สอนสามารถนำเนื้อหาจากที่ต่างๆ มาใช้ได้ โดยสามารถเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต หรือสมาร์ทโฟนของผู้เรียนได้สูงสุด 50 เครื่อง

เทคโนโลยีนี้ได้ช่วยสร้างบรรยากาศภายในห้องเรียนและช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนผู้สอนมีส่วนร่วมและการมีปฏิสัมพันธ์ได้อย่างดีเยี่ยม
 
Epson projector vs flat panel display*อ้างอิงจากผลงานวิจัยของสถาบัน Radius Research ประเทศสหรัฐอเมริกา, สหราชอาณาจักร และสิงคโปร์ เกี่ยวกับการใช้งานจอแสดงผลแบบจอแบนขนาด 70 นิ้ว ที่มีความละเอียด 4K ในห้องเรียนที่มีการจัดที่นั่งตามความยาวห้องที่มีขนาด 22 x 27 ฟุต, 22 x 26 ฟุต และ 22 x 30 ฟุต โดยให้ผู้เรียนจดข้อมูลสั้นๆ 6 รายการ จากสไลด์ที่ฉายอยู่ พบว่านักเรียนที่มีอายุระหว่าง 12 – 22 ปี จำนวน 58% จากสหรัฐอเมริกา, 61% จากสหราชอาณาจักร และ 57% จากสิงคโปร์ จดข้อมูลไม่ถูกต้องอย่างน้อย 1 รายการ

วิธีการเลือกจอแสดงผลที่เหมาะกับขนาดห้องเรียนมากที่สุด

การเลือกจอแสดงผลสำหรับห้องเรียนที่เหมาะสม ควรคำนึงถึงปัจจัยหลัก 3 ข้อดังต่อไปนี้:
  • ขนาดจอภาพ และระยะห่างระหว่างผู้เรียนกับจอแสดงผล
  • กฎ 4/6/8 – มาตรฐานทั่วไปสำหรับการกำหนดระยะการมองเห็นที่ดีที่สุดตามขนาดของหน้าจอ เพื่อความสบายตาในการมองเห็น
  • การกำหนดลักษณะห้องเรียน – สี่เหลี่ยม กว้าง หรือลึก? สามารถดูวิธีการกำหนดขนาดหน้าจอที่เหมาะสมกับขนาดห้องเรียนของคุณ
โดยใช้โปรแกรมจำลองกฎ 4/6/8 ของเอปสันได้ ที่นี่ ในการคำนวณขนาดจอภาพที่เหมาะสมกับห้องเรียน

ฉายภาพที่ใหญ่กว่า ด้วยความสว่างที่สูงกว่า

การมองเห็นเนื้อหาการเรียนการสอนได้อย่างชัดเจนจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถทำความเข้าใจเนื้อหาต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น โดยมีปจจัยต่างๆ ในเลือกขนาดจอแสดงผลที่เหมาะสม ซึ่งสามารถดาวน์โหลดเอกสารคำแนะนำเพิ่มเติมได้จากลิงค์ด้านล่าง

ขนาดจอภาพ:

วิธีการคำนวนความสูของห้องและระยะห่างของที่นั่งเรียน เพื่อกำหนดขนาดจอภาพที่เหมาะสม

คำอธิบายเกี่ยวกับกฎ 4/6/8

ค้นกับหลักกาคำนวนระยะการมองจอที่สบายตาสำหรับนักเรียนทุกคน

การกำหนดลักษณะห้องเรียน

วิธีการพิจารณาลักษณะของห้องเรียน และการกำหนดขนาดที่เหมาะสม

บทความล่าสุด

 

ติดตามเรา

 

Share This