ช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ภาคอุตสาหกรรมการผลิตของไทยต้องปรับตัวเพื่อรองรับความต้องการของตลาดที่เพิ่มขึ้นและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว บริษัทจำนวนมากเริ่มหันมาลงทุนกับหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันสูง ซึ่งจากผลสำรวจในปี 2563 โดย Forrester Consulting บริษัทที่ปรึกษาด้านการตลาดชั้นนำของโลก พบว่า 2 ใน 3 ของกลุ่มตัวอย่างบริษัทผู้ผลิตจำนวนทั้งหมด 270 แห่งพยายามเร่งติดตั้ง Robotic Process Automation หรือระบบหุ่นยนต์อัจฉริยะเพื่อใช้ในกระบวนการผลิตต่างๆ

 

ฟี ออโต้เมชั่น หนึ่งในผู้ประกอบการไทยที่ได้ใช้กระบวนการผลิตอัตโนมัติตั้งแต่ก่อโรงงานในปี 2553 รวมถึงมีบริการครอบคลุมตั้งแต่การรวมโซลูชั่น การออกแบบโซลูชั่นอัตโนมัติ การประกอบเครื่องจักรอัตโนมัติ การพัฒนาโปรแกรมควบคุม และการซ่อมบำรุงชิ้นส่วนเครื่องจักร

 

 

พงศ์สุธี นิธิไกรวุฒิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟี ออโต้เมชั่น จำกัด เล่าให้ฟังว่า เขามองเห็นโอกาสที่เปิดกว้างมากในการจัดหาโซลูชั่นระบบอัตโนมัติให้กับบริษัทและโรงงานผลิตที่ส่วนใหญ่ใช้แรงงานคนเป็นหลัก เพื่อนำไปใช้พัฒนาประสิทธิภาพการทำงานและเพิ่มประสิทธิผลทางธุรกิจ โดยเขาจะผสานระบบหุ่นยนต์อัตโนมัติเข้ากับกระบวนการผลิตของลูกค้า ซึ่งจะช่วยทั้งในการจัดการกับต้นทุนค่าแรงและตอบสนองกับความต้องการของตลาดที่เพิ่มสูงอยู่ตลอด โดยในช่วงแรก บริษัทฯ รับงานสร้างเครื่องจักรขนาดเล็กให้กับโรงงานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และการแพทย์

 

“ตอนเริ่มธุรกิจ เราพยายามนำหุ่นยนต์เข้ามาเชื่อมต่อกับระบบของเรา แต่ราคาของหุ่นยนต์แขนกลในเวลานั้นสูงกว่าปัจจุบัน 4-5 เท่า จึงทำให้มีข้อจำกัดในการนำเสนอให้กับลูกค้า ซึ่งเราก็ได้ทำการศึกษาวิเคราะห์เพื่อหาเทคโนโลยีหุ่นยนต์ที่ตอบโจทย์และเหมาะกับการใช้งานในรูปแบบต่างๆ มากที่สุด ในปัจจุบันมีหุ่นยนต์แขนกลแบบ Cartesian ที่มีราคาประหยัด ในขณะที่หุ่นยนต์แขนกลแบบ SCARA สามารถใช้กับงานได้หลากหลายประเภทมากกว่า และโดยส่วนตัวแล้ว ผมรู้จักหุ่นยนต์แขนกลแบบ SCARA ของเอปสันมาตั้งแต่ตอนที่เป็นวิศวกร และมั่นใจว่าเทคโนโลยีนี้จะเป็นประโยชน์กับกระบวนการผลิตในทุกขั้นตอน”

 

ฟี ออโต้เมชั่น เริ่มใช้หุ่นยนต์แขนกลแบบ Cartesian ผสมกับหุ่นยนต์แขนกลแบบแกนเดียว สองแกน และสามแกนบ้างในไลน์การผลิต ก่อนจะตัดสินใจเปลี่ยนมาใช้หุ่นยนต์แขนกลแบบ SCARA เพราะต้องการยกระดับกระบวนการผลิตของบริษัทฯ เนื่องจากตอบโจทย์การทำงานได้ดีกว่าและใช้กับงานได้ในหลายขั้นตอน

 

 

พงศ์สุธี เล่าต่อว่า “สิ่งที่ผมชอบเกี่ยวกับหุ่นยนต์แขนกลแบบ SCARA อย่างหนึ่งก็คือขนาดที่กะทัดรัดกว่ามาก ซึ่งช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับไลน์การผลิตทั้งหมด ก่อนหน้านี้ เราต้องใช้เวลา 3-4 เดือนในการจบโปรเจ็กต์ ซึ่งรวมถึงการออกแบบด้านวิศวกรรมเครื่องกล ระบบไฟฟ้าและการควบคุม ซึ่งปกติแล้ว เราจะใช้เวลาหนึ่งเดือนในการผลิตชิ้นส่วน และอีกเดือนในการประกอบและทดสอบการทำงานก่อนจะส่งมอบให้กับลูกค้า”

 

“การนำหุ่นยนต์แขนกลแบบ SCARA ของเอปสันเข้ามาใช้ช่วยลดระยะเวลาในขั้นตอนการออกแบบระบบได้อย่างมาก การติดตั้งก็ทำได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย วิศวกรเพียงแค่เสียบปลั๊ก และยึดหุ่นยนต์เข้ากับ ไลน์การผลิตเท่านั้น หุ่นยนต์แขนกลแบบ SCARA ก็พร้อมใช้งาน แถมการบำรุงรักษาก็ไม่ยุ่งยาก อีกทั้งยังสามารถเชื่อมต่อเข้ากับระบบของบริษัทฯ ได้อย่างง่ายดาย ใช้เวลาแค่ไม่กี่ชั่วโมง ในขณะที่หุ่นยนต์แขนกลแบบ Cartesian ต้องใช้เวลาหลายวัน และถึงแม้ว่าการเปลี่ยนจากหุ่นยนต์แขนกลแบบ Cartesian มาใช้หุ่นยนต์แขนกลแบบ SCARA จะเป็นเรื่องท้าทายทีมวิศวกรรุ่นใหม่อยู่บ้าง แต่เราได้รับการสนับสนุนอย่างดีจากทีมงานเอปสัน ทำให้วิศวกรของเราคุ้นเคยกับเทคโนโลยีนี้ได้ในเวลาไม่นาน” พงศ์สุธี กล่าว

 

ปัจจุบัน ฟี ออโต้เมชั่น ได้ขยายธุรกิจไปยังประเทศเวียดนาม แอฟริกาใต้ และญี่ปุ่น ทั้งยังเตรียมที่จะรุกเข้าสู่อุตสาหกรรมใหม่ๆ อย่างภาคยานยนต์ อาหารและเครื่องดื่ม การติดตั้งหุ่นยนต์แขนกลแบบ SCARA ของเอปสัน ทำให้ ฟี ออโต้เมชั่น สามารถรองรับโปรเจ็กต์ที่มีขนาดใหญ่และมีความซับซ้อนยิ่งขึ้น รวมทั้งยังช่วยให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่มีความต้องการเฉพาะในเทคโนโลยีที่ใช้งานได้มากขึ้น

 

พงศ์สุธี คาดการณ์ว่าภาคการผลิตในประเทศไทยจะยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง และจำเป็นต้องนำหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเข้ามาใช้งานเพื่อให้สามารถรองรับความต้องการที่หลากหลายของอุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งหุ่นยนต์แขนกลแบบ SCARA ของเอปสันสามารถมอบทั้งประสิทธิภาพและความปลอดภัยที่ดีเยี่ยมให้กับเหล่าผู้ประกอบการได้ นอกจากนี้ ในอีก 5 ปีข้างหน้า ฟี ออโต้เมชั่น มีแผนที่จะขยายฐานลูกค้าในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และบุกตลาดยานยนต์ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงสำคัญของตลาดจากการใช้รถยนต์เครื่องยนต์เชื้อพลังมาเป็นพลังงานไฟฟ้า รวมถึงกระแสความต้องการฮาร์ดแวร์ที่รองรับบิ๊กดาต้าจะเป็นปัจจัยที่สนับสนุนธุรกิจของฟี ออโต้เมชั่น เพราะนี่หมายถึงบริษัทฯ จะมีงานเพิ่มขึ้นและระบบอัตโนมัติที่มีขนาดใหญ่ขึ้นตาม

 

“ลูกค้าของเรา มักมีข้อกำหนดเฉพาะเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่พวกเขาต้องการให้เราใช้ และลูกค้าก็พอใจมากเมื่อได้เห็นการสาธิตการทำงานของหุ่นยนต์แขนกลแบบ SCARA ที่สุดแล้ว ความสำเร็จของลูกค้าก็คือความสำเร็จของเรา บริษัทฯ จะยังคงมองหาเทคโนโลยีที่เป็นโซลูชั่นที่ดีที่สุดสำหรับลูกค้าของเราต่อไป” พงศ์สุธี ทิ้งท้าย

 

#หุ่นยนต์ #หุ่นยนต์แขนกล #หุ่นยนต์SCARA #เอปสัน

 

ติดตามเรา

 

Share This