พี.ที. มาตาฮารี เมกาห์ (P.T. Matahari Megah) บริษัทวิศวกรรมจากเมืองทังเกอรัง ประเทศอินโดนีเซีย ผู้ผลิตเครื่องจักรอัตโนมัติให้กับลูกค้าในอุตสาหกรรมวิศวการและยานยนต์มานานกว่า 34 ปี สร้างธุรกิจให้เติบโตอย่างมั่นคงด้วยการลงทุนอย่างต่อเนื่องในด้านการออกแบบและการวิจัยพัฒนา เพื่อปรับปรุงคุณภาพ ความเร็ว และความปลอดภัยในกระบวนการผลิตให้กับลูกค้าอยู่เสมอ

 

จากผู้ผลิตชิ้นส่วนอะไหล่สำหรับงานซ่อมบำรุงทั่วไป พี.ที. มาตาฮารี เมกาห์ ได้ก้าวขึ้นมาเป็นธุรกิจที่มีศักยภาพในการแข่งขันสูง สามารถผลิตและส่งออกเครื่องจักรและระบบอัตโนมัติที่มีความซับซ้อนสูงให้กับผู้ผลิตทั้งในท้องถิ่นและระดับโลก อย่าง Astra Honda Motors, ABB Indonesia, Denso Indonesia, FESTO Indonesia, GS Battery, Hino Motors Sales Indonesia, Mitsubishi Motor และ Yamaha Indonesia Motor Mfg. เป็นต้น และ พี.ที. มาตาฮารี เมกาห์ ตั้งเป้าที่จะติดท็อปเทนบริษัทผู้พัฒนาระบบอัตโนมัติของประเทศอินโดนีเซีย

 

หากย้อนกลับไป ปี 2552 ถือว่าเป็นก้าวกระโดดสำคัญของ พี.ที. มาตาฮารี เมกาห์ เมื่อได้รับงานที่ท้าทายมาชิ้นหนึ่ง นั่นคือการผลิตเครื่องม้วนแกนเหล็กให้กับโรงงานแห่งหนึ่งในเมืองมิวนิก ประเทศเยอรมนี ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมากกับประเภทเครื่องจักรที่บริษัทฯ ผลิตอยู่ในตอนนั้น แต่ก็เป็นการเปิดประตูสู่การเป็นผู้ผลิตเครื่องจักรเฉพาะทาง และการก่อตั้งแผนกเครื่องจักรและระบบอัตโนมัติที่ซับซ้อนสูงในเวลาต่อมา

 

และเมื่อมีบริษัทที่ต้องการโซลูชั่นที่ไม่ซ้ำใครและปรับแต่งได้เพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ พี.ที. มาตาฮารี เมกาห์ ไม่ใช่เป็นเพียงผู้ผลิตชิ้นส่วนอะไหล่อีกต่อไป แต่เป็นผู้พัฒนาเครื่องจักรเฉพาะทางที่ใช้กับงานพิเศษ เช่น เครื่องมิลลิ่ง เครื่องเชื่อม เป็นต้น ทำให้บริษัทเป็นที่รู้จักโดยเฉพาะในกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจพลังงานไฟฟ้าและยานยนต์นอกประเทศ และทำให้เกิดความท้าทายใหม่ของบริษัทฯ ในการการรักษาคุณภาพของชิ้นงานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ลูกค้าสามารถนำไปใช้สร้างผลิตผลที่ดีที่สุด คือความท้าทายอันดับแรก ซึ่งพี.ที. มาตาฮารี เมกาห์ เคยประสบปัญหาในการรักษาความคงเส้นคงวาในการผลิตเครื่องจักรให้ได้คุณภาพสูงอยู่เสมอ เพราะขาดกระบวนการควบคุมความหลากหลายและความยืดหยุ่นในไลน์การผลิต ส่วนความท้าทายที่สอง คือเวลาและต้นทุนการผลิต เพราะการผลิตและการเริ่มใช้งานเครื่องจักรที่มีความซับซ้อนหรือมีชิ้นส่วนประกอบจำนวนมากต้องใช้เวลาอย่างน้อยหนึ่งเดือนหรือนานถึงหนึ่งปี ไม่เหมือนกับการผลิตชิ้นส่วนอะไหล่ เวลาที่มากขึ้นในขั้นตอนการผลิตก็หมายถึงต้นทุนที่สูงขึ้นตาม สำหรับความท้าทายสุดท้ายคือความพร้อมของกำลังคนและทักษะ ยิ่งเครื่องจักรมีความซับซ้อนมากขึ้น จำนวนและทักษะของทีมวิศวกรยิ่งทวีความสำคัญ ซึ่งการจะหาวิศวกรที่มีความรู้ด้านเทคนิคและความเชี่ยวชาญจำนวนมากในประเทศอินโดนีเซียไม่ใช่เรื่องง่าย

 

หลังจากศึกษาเกี่ยวกับโซลูชั่นด้านการผลิตที่ทันสมัยต่างๆ พี.ที. มาตาฮารี เมกาห์ จึงตัดสินใจเผชิญความท้าทายเหล่านี้ ด้วยการใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์อุตสาหกรรม ซึ่งจะส่งผลดีตามมากับบริษัทฯ ในเรื่องความยืดหยุ่น ค่าใช้จ่าย และผลกำไร และในปี 2558 พี.ที. มาตาฮารี เมกาห์ เดินเข้าสู่โลกแห่งหุ่นยนต์แขนกลอย่างเต็มตัว โดยการร่วมงานกับลูกค้าแบรนด์ระดับโลก อากุส ฮาลิม ผู้อำนวยการด้านเทคนิคของพี.ที. มาตาฮารี เมกาห์ เล่าว่า “โครงการแรกที่เราใช้หุ่นยนต์แขนกลเป็นงานจาก GS Battery โดยในตอนแรก เราผลิตเครื่องจักรที่ลูกค้าต้องการโดยไม่ใช้หุ่นยนต์ และเราก็พบว่าเราต้องมีความยืดหยุ่นมากขึ้น และหุ่นยนต์แขนกลคือคำตอบ นั่นคือจุดเปลี่ยนของบริษัทฯ”

 

“ระหว่างที่ศึกษาโซลูชั่นต่างๆ เราได้พบกับหุ่นยนต์แขนกล T-Series SCARA ของเอปสันในงานนิทรรศการที่ประเทศสิงคโปร์ และเราเชื่อว่านี่คือโซลูชั่นที่ลงตัวที่สุด หุ่นยนต์รุ่นนี้ไม่เพียงแต่ใช้ได้กับงานหลายประเภท มีต้นทุนไม่สูงในการวางระบบ ติดตั้งและใช้งานง่าย เหมาะสำหรับไลน์การผลิตแบบแนวตั้ง ประหยัดพื้นที่ ยังตอบโจทย์ในเรื่องการผลิตเพื่อความยั่งยืนตามหลัก 6Rs – redesign, reuse, remanufacture, recover, recycle, reduce”

 

“หลังจากได้ใช้งาน พบว่าการทำงานของหุ่นยนต์มีความเสถียร แม่นยำ และเที่ยงตรง แขนกลสามารถหยิบจับเคลื่อนย้ายชิ้นส่วนที่กำหนดและประสานงานกับอุปกรณ์อื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อดีอีกประการคือความยืดหยุ่น ที่ได้จากการที่หุ่นยนต์สามารถหมุนข้อต่อต่างๆ ได้ในหลายตำแหน่งและหลายมุม”

 

“หุ่นยนต์แขนกลแบบ  SCARA รุ่น T-Series ของเอปสัน สามารถช่วยเพิ่มความเร็วในกระบวนการผลิต เพราะรูปแบบการเคลื่อนไหวในการทำงานแบบซ้ำๆ ถูกตั้งค่าอัตราความแม่นยำไว้ล่วงหน้า และสามารถปรับได้อย่างง่ายดาย ให้เข้ากับความซับซ้อนของงาน นอกจากนี้ ยังมาพร้อมกับอินเทอร์เฟซและระบบควบคุมที่ใช้งานง่าย ช่วยให้วิศวกรปรับการใช้งานให้เข้ากับเครื่องจักรในไลน์การผลิตได้อย่างง่ายดาย” อากุส กล่าว

 

ทันทีที่ พี.ที. มาตาฮารี เมกาห์ ติดตั้งหุ่นยนต์แขนกล SCARA ของเอปสันรุ่น T-Series เข้ากับไลน์การผลิต ทั้งกำลังการผลิตและอัตราการใช้งานก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ต้นทุนการผลิตของบริษัทฯ ลดลงอย่างเห็นได้ชัด เพราะหุ่นยนต์จัดการกับงานได้หลากหลาย ทำให้บริษัทสามารถรองรับงานโครงการใหญ่ๆ ได้ถึง 3 โครงการ พร้อมๆ กัน เพิ่มกำลังการผลิตที่จากก่อนหน้านี้ได้ถึง 30%

การผสานหุ่นยนต์เข้ากับไลน์การผลิตเครื่องจักรที่มีความซับซ้อนมากขึ้นจึงกลายเป็นจุดขายและจุดแข็งของพี.ที. มาตาฮารี เมกาห์ ที่ใช้ชนะใจลูกค้าในอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้าและยานยนต์ ผู้มองหาเทคโนโลยีระดับนวัตกรรมอยู่เสมอ

 

ติดตามเรา

 

Share This