อิงค์เจ็ทพรินเตอร์ เพื่อธุรกิจและสิ่งแวดล้อมที่ดีกว่า

24 เม.ย., 2019เครื่องพิมพ์เพื่อธุรกิจ & ใช้ในบ้าน, เครื่องพิมพ์และสแกนเนอร์

ตัวอย่างปริมาณวัสดุการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ ภายหลังพิมพ์งาน 1 ล้านหน้า
ระหว่าง Epson WorkForce WF-C20590  (ซ้าย) กับเลเซอร์พรินเตอร์ (ขวา)

ทุกวันนี้ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมกลายเป็นประเด็นสำคัญในโลกธุรกิจ  บริษัทส่วนใหญ่ต่างได้รับแรงกดดันจากสังคม จึงทำให้หลายบริษัทเกิดการรณรงค์เรื่องสิ่งแวดล้อมในเชิงรูปธรรมมากยิ่งขึ้น  ยิ่งกระแสของการใช้ “Green Tech” เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังนั้น อุปกรณ์ต่างๆ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จึงถูกนำเข้ามาใช้งานมากขึ้น  เพื่อก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อสภาพแวคล้อมและการเงินภายในองค์กร

พรินเตอร์เป็นหนึ่งอุปกรณ์ในสำนักงานที่กำลังอยู่ในกระแส “Green Tech”  โดยผู้ใช้งานส่วนมาก มักจะมีตัวเลือกระหว่างอิงค์เจ็ทพรินเตอร์หรือเลเซอร์พรินเตอร์ เพื่อดูว่าพรินเตอร์ประเภทใดสามารถให้คุณภาพงานพิมพ์ที่ดี  ต้นทุนต่อแผ่นที่ถูก คุ้มค่าต่อการลงทุนในระยะยาว และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ถ้ามองในมุมของค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น อิงค์เจ็ทพรินเตอร์นั้นได้เปรียบกว่าเลเซอร์พรินเตอร์อยู่มาก เพราะคุ้มค่ากว่าตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงการใช้งานในระยะยาว  โดยค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นกับอิงค์เจ็ทพรินเตอร์นั้นน้อยกว่าเลเซอร์พรินเตอร์ เพราะอิงค์เจ็ทพรินเตอร์ ไม่ใช้ความร้อนในกระบวนการทำงาน  จึงใช้พลังงานน้อยกว่าเครื่องพิมพ์เลเซอร์ถึง 85% เมื่อเทียบกับรุ่นที่มีความเร็วใกล้เคียงกัน ซึ่งหมายความว่า สำหรับบริษัทที่ต้องพิมพ์งานบ่อยๆ จะสามารถช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานต่อปีได้อย่างชัดเจน[1]

นอกจากนั้นอิงค์เจ็ทพรินเตอร์ของเอปสัน ยังผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์น้อยกว่าเครื่องพิมพ์เลเซอร์ในรุ่นเทียบเท่าถึง 85%[2]  โดยการอ้างอิงข้อมูลจากสำนักงานป่าไม้ญี่ปุ่น ในการคำนวณเรื่องมาตรฐานการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ของต้นซีดาร์ ที่เราต้องใช้ต้นซีดาร์ถึง 6 ต้นในการช่วยดูดซับปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้นจากเลเซอร์พรินเตอร์  แต่สำหรับเอปสันอิงค์เจ็ทพรินเตอร์ใช้ต้นซีดาร์เพียงต้นเดียวเท่านั้น

หากพิจารณาด้านผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม  ปริมาณขยะที่เกิดจากวัสดุการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ของเอปสันอิงค์เจ็ทพรินเตอร์ มีขยะเหลือจากการใช้งานวัสดุสิ้นเปลืองน้อยชิ้นกว่าเมื่อเทียบกับเลเซอร์พรินเตอร์ถึง 59%3  จึงทำให้เครื่องทำงานได้คล่องตัวกว่า และช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้มากกว่า  เนื่องจากอิงค์เจ็ทพรินเตอร์เปลี่ยนแค่หมึกพิมพ์และแท็งค์ใส่น้ำหมึกเท่านั้น  แต่เลเซอร์พรินเตอร์จำเป็นต้องเปลี่ยนทั้งโทนเนอร์, ลูกดรัม, ดีเวลลอปเปอร์ โรเลอร์, ชุดฟิวเซอร์ และชิ้นส่วนอื่นๆ   ดังนั้นเมื่ออิงค์เจ็ทพรินเตอร์มีวัสดุการพิมพ์ที่น้อยกว่า  นั่นหมายถึงเวลาดาวน์ไทม์และเวลาในการดูแลรักษาเครื่องก็ย่อมลดลงด้วย เราจึงเสียเวลาในการบำรุงรักษาเครื่องน้อยลงไปกว่าครึ่ง  ทำให้มีเวลาไปพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น

Epson Workforce WF-C20590 นอกจากช่วยเรื่องการลดปริมาณขยะและประหยัดพลังงานแล้ว ยังมีความโดดเด่น ในเรื่องฟีเจอร์และความเร็วในการพิมพ์ที่เหนือกว่าเลเซอร์พรินเตอร์   สามารถให้คุณภาพงานพิมพ์ที่ยอดเยี่ยม มีความเร็วในการ พิมพ์ทั้งสีดำและสีถึง 100 ipm ทั้งยังพิมพ์งานแผ่นแรกได้ทันทีหลังเปิดเครื่อง โดยไม่ต้องเสียเวลารอวอร์มเครื่องก่อนใช้งาน

พรินเตอร์ Epson WorkForce Enterprise

เทคโนโลยีหัวพิมพ์แบบ “ไลน์เฮด” ของเอปสันถูกออกแบบมาให้เหมาะกับพรินเตอร์ขนาดใหญ่  ด้วยความละเอียดถึง 600x2400dpi  ให้คุณภาพงานพิมพ์ที่คมชัด สีสันสวยงามและพิมพ์บนวัสดุได้หลากหลาย  รวมถึงหัวพิมพ์แบบไลน์เฮดยังใช้ชิป PrecisionCore ที่สามารถควบคุมการพ่นน้ำหมึกด้วยความเร็วถึง 40 ล้านหยดต่อวินาที ได้อย่างแม่นยำอีกด้วย

เอปสันได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ทั้งด้านนวัตกรรมและการประหยัดพลังงานอย่างต่อเนื่อง  เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและโซลูชั่นด้านการจัดการเอกสารที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า  นอกจากนั้นเอปสันยังช่วยลูกค้าเรื่องการลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจ  และโซลูชั่นการพิมพ์ที่ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม  ดังนั้นพรินเตอร์ Epson WorkForce จึงทำให้ลูกค้ามั่นใจว่าจะสามารถสร้าง การเปลี่ยนแปลงให้กับธุรกิจทั้ง[3] มิติ คือ ด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม ไปพร้อมกันอีกด้วย

 

 

[1]เอปสันได้มอบหมายให้ คีย์พอยท์ อินเทลลิเจนซ์-บายเออร์ส แล็บ ทำการทดสอบเปรียบเทียบการสิ้นเปลืองพลังงานของพรินเตอร์เลเซอร์สีมัลติฟังก์ชั่น รุ่นที่มีความเร็ว 65-70 ppm จำนวน 2 รุ่น และมีการตั้งค่าในการพิมพ์เป็นค่ามาตรฐานของเครื่อง  โดย คีย์พอยท์ อินเทลลิเจนซ์-บายเออร์ส แล็บ จะมีหลักพื้นฐานในการคำนวนจากปริมาณการพิมพ์งานต่อสัปดาห์ คือ 2 X 4 ชั่วโมงที่พิมพ์งาน + 16 ชั่วโมงในโหมด สลีป/สแตนด์บาย และการใช้พลังงานในช่วงวันหยุด 48 ชั่วโมง ในโหมดสลีป/สแตนด์บาย  ซึ่งปริมาณงานพิมพ์ทดสอบมีทั้งหมด 69 หน้า ในรูปแบบไฟล์ .doc, .xls, .ppt, .html และ Outlook  โดยจะพิมพ์ทั้งหมดจำนวน 6 ครั้งและแต่ละช่วงในการพิมพ์งานยาวนาน 4 ชั่วโมง

[2]คำนวณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ในแต่ละปี โดยใช้ซอฟต์แวร์ JEMAI-LCA Pro โดยอ้างอิงการคำนวณจากการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของต้นสนซีดาร์ ตามมาตรฐานของสำนักงานป่าไม้ญี่ปุ่น (Japan Forestry Agency) ซึ่งต้นสนซีดาร์สามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 8.8 กก. ต่อปี

[3]เอปสันได้มอบหมายให้ คีย์พอยท์ อินเทลลิเจนซ์-บายเออร์ส แล็บ ทำการทดสอบ ทำการทดสอบเปรียบเทียบเรื่องการใช้วัสดุสิ้นเปลืองของพรินเตอร์เลเซอร์สีมัลติฟังก์ชั่น รุ่นที่มีความเร็ว 65-70 ppm จำนวน 2 รุ่น  โดยในการคำนวณจะอาศัยเรื่องปริมาณของวัสดุสิ้นเปลืองและชิ้นส่วนทดแทนที่ต้องใช้เปลี่ยน เมื่อพิมพ์งานถึง 1 ล้านหน้า (รูปแบบการทดสอบตามมาตรฐาน ISO/IEC 24712) ในช่วงระยะเวลา 5 ปี

 

 

ติดตามเรา

 

Share This